เกี่ยวกับงาน

หลักการและเหตุผล

ทศวรรษที่ผ่านมาโลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วและชัดเจน ในปีพ.ศ. 2566 องค์กาiสหประชาชาติ ได้เตือนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบนโลก ผลกระทบต่างๆ เป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างประหลาดและไม่เคยเห็นกันมาก่อน เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนโลกร้อน ที่สุดเป็นประวัติการณ์การ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า โลกเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด – Globol Boiling” ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะโลกรวน เป็นสภาพที่ เรารู้จักกันดี มีผลกระทบต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพราะมนุษย์ใช้โลกของเราอย่างหักโหมมากเกินไป เกินขีดความสามารถของโลกที่จะ รองรับได้ ผลกระทบต่างๆ จะลดความสามารถของระบบธรรมชาติของโลกในการตอบสนองต่อความร้อน นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ ได้ ประเมินไว้ว่าอุณหภูมิจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และจะทำลายสถิติ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะต้องประสบกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้ น คาดเดายาก และมีอันตรายมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ในยุค “โลกเดือด”

อย่างไรก็ตามความต้องการอาหารยังคงเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพิ่มปริมาณการผลิต และการปกป้องผลผลิต จะต้องใช้ความรู้หลายด้าน ทั้งวิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว โดยนำไปดำเนินการป้องกันกำจัดเพื่อควบคุม ศัตรูพืช และหรือบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเพิ่มความสามารถ ของวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อปกป้องผลผลิตและช่วยลดความเสียหาย ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ นอกจาก วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพแล้ว การอารักขาพืชที่ถูกวิธีที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัย ตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโล ก และตามมาตรฐานสากล เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ซึ่งในตลาดโลก ประเทศผู้ซื้อได้นำมาตรฐานของระบบการผลิตอาหารปลอดภัยตลอดเส้นทาง การผลิตในห่วงโซ่การผลิตอาหารมาใช้ควบคุมคุณภาพประกอบการสั่งซื้อสินค้า เช่น มาตรการสุขอนามัยพืช การกักกันศัตรูพืช มาตรการเรื่อง ปริมาณสารเคมีตกค้างในอาหาร ตลอดจนมาตรฐานของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น นำมาควบคุมอย่างเข้มงวดกับประเทศผู้ส่งออก ประเทศไทยได้พัฒนาวิชาการด้านอารักขาพืชมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตตามระบบมาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออก สินค้าเกษตรในตลาดโลก และสินค้าเกษตรบางชนิดประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกในลำดับต้นๆ แต่ในปัจจุบันสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง คือการอารักขา พืชใน “ยุคโลกเดือด” ดังนั้นภาระหน้าที่ของนักวิชาการด้านอารักขาพืช จะต้องช่วยกันศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้วิธีการอารักขาพืช ที่มี ประสิทธิภาพ นำไปสู่การผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปราศจากสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อม และ หลีกเลี่ยงกิจกรรมการอารักขาพืช ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยกันลดอุณหภูมิของโลกที่เราอาศัยอยู่ให้มี ความเหมาะสม และปลอดภัย

การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยสมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ครั้งที่ 15 การจัดประชุมวิชาการฯ มีขึ้นทุก 2 ปี โดยแต่ละสมาคมหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ และได้รับความร่วมมือจากสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศไทย การจัดประชุมวิชาการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็น ในกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการอารักขาพืช

วัตถุประสงค์

1. เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืชระดับพื้นฐาน ประยุกต์และพัฒนา ประกอบด้วย ด้านวิทยาการวัชพืช กีฏและสัตววิทยา โรคพืชและจุลชีววิทยา วิศวกรรมเกษตร และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงการนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนางานวิจัยต่อไป

2. แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการทำงานวิจัย เพื่อนำไปเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยด้านการอารักขาพืชให้มีคุณภาพ

รูปแบบการประชุม

การประชุมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การอภิปราย การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ การเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยาย และภาคแผ่นภาพ โดยมีการคัดเลือกให้รางวัลสำหรับผลงานวิจัยดีเด่น การแสดงนิทรรศการ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืช ภาพถ่ายที่ชนะการประกวด และการทัศนศึกษา

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. นักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อการพัฒนางานวิจัยให้สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหามากขึ้น
  2. นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ได้ทราบความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช สำหรับนำไปปฏิบัติ และนำไปถ่ายทอด หรือส่งเสริมให้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
  3. นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และผู้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอารักขาพืช ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน อันนำไปสู่การพัฒนางานด้านอารักขาพืชอย่างยั่งยืน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย เป็นแกนนำร่วมกับสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร  สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 

ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นนักวิชาการ นักส่งเสริมการเกษตร สมาชิกสมาคม ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจทั่วไปจากภาครัฐและเอกชน ประมาณ 400 คน

เวลาและสถานที่

  • วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2568
  • โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

อัตราค่าลงทะเบียน (รวมทัศนศึกษา)

  • นิสิต นักศึกษา และผู้เกษียณอายุ ลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 2,500 บาท

ลงทะเบียนหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 3,000 บาท

  • นักวิจัย อาจารย์ และบุคคลทั่วไป ลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 3,000 บาท

ลงทะเบียนหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 3,500 บาท

หมายเหตุ : ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายได้จากต้นสังกัด ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และไม่ถือเป็นวันลาตามระเบียบของทางราชการเมื่อได้รับอนุมัติจากต้นสังกัด

ช่องทางการลงทะเบียน

    1. ลงทะเบียนออนไลน์
    2. Download ใบลงทะเบียน กรอกข้อมูล แล้วส่งทาง E-mail: ezathai@gmail.com